วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558



The Story of DOTA

ประวัติเกมแห่งตำนาน DOTA จนถึง DOTA2 ปัจจุบัน



      สมัยนี้เราก็เห็นกันอยู่ ว่าเกมแนวใหม่ๆ ไม่ค่อยมีโผล่ออกมาให้เห็นกันสักเท่าไหร่ จะเรียกว่าวงการเกมยังคงอยู่กับแนวเดิมๆ ไม่ค่อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงก็คงจะพูดได้สักระดับนึง แต่จะมีสักกี่เกมกันที่เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ เข้ามาจนสุดท้ายนั้นประสบความสำเร็จได้ในวงกว้าง หากพูดถึงสมัยประมาณสักสิบปีที่แล้วไม่ต้องสงสัยเลยว่า Counter-Strike นั้นกินเวลาช่วงนั้นของพวกเราไปมากขนาดไหน ซึ่งก็เริ่มจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของเหล่า modder เช่นกันจนสุดท้ายก็กลายเป็นเกมขึ้นหิ้งและเป็นบรรทัดฐานใหม่อีกอันให้กับวงการเกมยิงทั่วโลกและยังเล่นกันอยู่จนถึงปัจจุบัน แต่สำหรับช่วงยุคหลังๆ สี่ห้าปีที่ผ่านมานี้คงมีน้อยคนนักที่จะไม่รุ้จัก DOTA (Defense of the Ancients)

      DOTA เรียกว่าเป็นแนวใหม่ที่รวมลักษณะการเล่นเกมระหว่างแนว RTS เข้ากับความเป็น RPG ภายในตัวจนเรียกว่าเป็นเกมแนวใหม่อีกแนวที่ถูกเรียกกันว่า MOBA (Multiplayer Online Battle Areana) แท้จริงแล้วต้องว่ากันถึงแผนที่ตัวนึงของ StarCraft ที่มีชื่อว่า Aeon of Strife ที่มีรูปแบบการเล่นที่แตกต่างออกไปไม่เหมือนกับเกมปกติที่เราเล่นๆ กันในสมัยนั้น กล่าวคือตัวเกมแทนที่เราจะต้องสร้างสิ่งก่อสร้าง ปั๊มยูนิตออกมาสู้กันเหมือนเกม RTS ทั่วๆ ไปแต่มาแผนที่ตัวนี้จะผิดแปลกออกไปก็คือเราจะได้บังคับตัวละครแค่ตัวเดียวเท่านั้น ส่วนอื่นๆ เช่นสิ่งก่อสร้างจะเป็นหน้าที่ของ AI ทั้งหมดโดยที่เราไม่ต้องไปยุ่งเลย หน้าที่ของเราก็คือตีฐานศัตรูอีกฝั่งให้แตกโดยผ่านเส้นทางสามเส้นทาง เมื่อเข้าถึงอีกฝั่งก็จะมีป้อมปืนฝั่งตรงข้ามคอยสกัด unit ที่ทาง AI ฝั่งเรานั้นสร้างออกมาเป็นชุดๆ ในระยะเวลานึง อ่านดูแล้วการเล่นแบบนี้คล้ายๆ เกมประเภท tower defense แต่ก็เป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไหร่ 


Aeon of Strife จุดเริ่มต้นของเกมแนว MOBA

      จุดเด่นของ Aeon of Strife คือการโฟกัสการควบคุมไปอยู่ที่ตัวละครเพียงตัวเดียว ตัดพวกระบบ micro management ออกไปทำให้หน้าที่ของเรานั้นเหลือเพียงแค่การสนับสนุน AI และทำลายฝั่งตรงข้ามให้สิ้นซากเท่านั้น

Warcraft III

      หลังการวางจำหน่ายของ Warcraft III ในปี 2003 มี modder ผู้หนึ่งชื่อว่า Eul ได้สร้างแผนที่ที่คล้ายกันกับ Aeon of Strife ขึ้นมาและตั้งชื่อว่า DOTA (Defense of the Ancients) จุดเด่นของม็อดตัวนี้คือการรองรับผู้เล่นได้ถึง 10 คน และมีการใส่ความเป็น RPG ลงไปในตัวเกมด้วยเช่นแต่ละตัวละครสามารถใช้ความสามารถพิเศษ ซื้ออาวุธ รับประสบการณ์เพิ่ม (เพื่อปลดล็อคความสามารถที่สูงกว่า) แต่หลังจากออกได้ไม่นาน Eul ก็ได้หยุดการพัฒนาและมี modder คนอื่นมาช่วยพัฒนาต่อแทน ซึ่งคนที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คงหนีไม่พ้น Steve Feak หรือที่รู้จักกันดีในนามแฝง Guinsoo

DOTA: Allstars

      Guinsoo เริ่มพัฒนา DOTA: Allstars ด้วยการจับความสามารถเด่นๆ ของม็อดตัวอื่นมารวมกันรวมถึงเพิ่มของตัวเองลงไปด้วยเช่นการเพิ่ม monster ที่เป็นกลางเข้าไปในแผนที่ ฮีโร่ใหม่ๆ รวมถึงไอเท็มพิเศษอีกจำนวนมาก หลายชิ้นไม่สามารถหามาได้ด้วยวิธีธรรมดา ต้องใช้การผสมไอเท็มหลายชนิดรวมกันเพื่อให้ได้ไอเท็มประสิทธิภาพสูงมาใช้ นอกจากนี้ Guinsoo ยังร่วมกับ Steve “Pendragon” Mescon โดยที่ Pendragon รับหน้าที่ในการสร้างฟอรัมเพื่อเป็นศูนย์รวมผู้เล่นทั่วโลกไว้ด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ รวมถึงรับ feedback เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงตัวเกมให้มีความสมดุลมากยิ่งขึ้น

      หลังจากเวลาผ่านไปสองปี Guinsoo ก็ได้ส่งมอบม็อดตัวนี้ให้ modder ผู้หนึ่งรับไปพัฒนาต่อนั่นก็คือ Abdul “IceFrog” Ismail เขานั้นรู้ดีว่า StarCraft และ Warcraft นั้นมีจุดเด่นอยู่ที่ความสมดุลของตัวเกม ดังนั้นเขาจึงปรับแต่งตัวเกมอย่างระมัดระวังเพื่อให้มีความสมดุลมากที่สุด แทนที่จะเพิ่มแผนที่ใหม่ๆ เข้าไปในตัวเกมเหมือนเช่นเกมอื่นๆ เขาทำกันแต่ IceFrog เน้นโฟกัสไปที่แผนที่เดียวและเน้นปรับให้ตัวเกมมีความสมดุลมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในขณะเดียวกันเวลาผ่านไปไม่นานก็มีจำนวนสมาชิกในฟอรัมของ Pendragon สูงถึง 1.5  ล้านคน ด้วยจำนวนสมาชิกที่มากขนาดนี้ทำให้ DOTA กลายเป็นม็อดที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วจากสังคมผู้เล่น เช่นมีการเทสบอทใหม่ๆ หรือเพิ่มอาร์ตเวิร์คสวยๆ เข้าไปในตัวม็อด นอกจากนี้ยังกลายเป็นเกมที่ผู้แข่งขันเกมนิยมใช้แข่งในทัวร์นาเม้นท์ทั่วโลกอีกด้วย รวมถึงวงดนตรีชื่อดังของสวีเดนก็ยังเอาไปใช้เป็นชื่อเพลง

      ในปี 2008 หลังผ่านการปรับเปลี่ยนมาไม่รู้กี่รอบ DOTA กลายเป็นม็อดที่มีความเป็นเฉพาะตัวและประสบความสำเร็จสูงมากในวงกว้างโดยไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ จากผู้พัฒนาเกม ด้วยเหตุนี้การที่จะผลักดันเกมนี้ให้กลายเป็นธุรกิจดูชัดเจนขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ จนในปี 2009 เกมที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก DOTA สองเกมได้ถูกกำเนิดขึ้น

Demigod เกมคอนเซปต์คล้ายกัน แต่ปัญหามากมาย

      เกมแรกคือ Demigod จากทีมงาน Gas Powered Games ที่ถือว่ามีชื่อเสียงในวงการเกมไม่น้อย เป็นเกมที่ดูยิ่งใหญ่อลังการแต่สุดท้ายแล้วด้วยปัญหาหลายอย่างเช่นบั๊กของเกมรวมถึงความสมดุลที่ไม่ได้ถูกปรับแต่งมาให้ดี สุดท้ายก็ได้แค่สร้างกระแสแค่ช่วงระยะเวลานึงเท่านั้น ในขณะที่อีกฝั่งนึง League of Legends(LOL) เป็นเกมที่ดูเหมือนกับว่าจะเป็นเกมที่สานต่อจิตวิญญาณของ DOTA ออกมาได้อย่างแท้จริง พัฒนาโดยทีมงาน Riot Games ที่ได้อดีตนักพัฒนา DOTA สองคน Guinsoo และ Pendragon เข้ามาร่วมทำงานด้วย ทำให้ตัวเกมนั้นได้จิตวิญญาณของ DOTA ติดมาด้วยมากเลยทีเดียว ที่สำคัญตัวเกมยังให้คุณได้เล่นฟรีโดยพื้นฐานอีกด้วย ทำให้มีผู้ลงทะเบียนแล้วมากกว่า 15 ล้านคน

 League of Legends(LOL)

      Riot Games กระตุ้นให้ผู้เล่นเล่นกันเป็นทีมให้มากขึ้นกว่าเดิมโดยมีการแบ่งประสบการณ์ให้กับผู้ช่วย (assisted player) มีการติวให้กับผู้เล่นใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคยผ่านระบบ hint และ tutorial ทีมงาน Riot Games เพิ่มอะไรใหม่ๆ เข้าไปในตัวเกมอยู่เรื่อยๆ เพราะขณะนั้นยังไม่มีคู่แข่งเข้ามาเพิ่มในตลาดจนถึงเมื่อช่วงปีที่แล้วก็มีอีกเกมเข้ามาในตลาดคือ Heroes of Newerth ที่ถึงผู้พัฒนา S2 Games จะยินดีกับยอดขายพอสมควร แต่ก็ยังไม่สามารถล้มเกมที่มาก่อนอย่าง LOL ได้ แต่ถึงอย่างไรก็ไม่สำคัญเท่าไหร่ เพราะมีคู่แข่งที่น่ากลัวยิ่งกว่ากำลังก้าวเข้ามาขอส่วนแบ่งเค้กอันโตชิ้นนี้

      เดือนตุลาคมปี 2010 Valve Software ประกาศเปิดตัว Dota 2 คู่แข่งสำคัญของ LOL ซึ่งการประกาศเปิดตัวครั้งนี้ไม่ถือว่าเป็นข่าวใหม่อะไร เพราะก่อนหน้านี้ IceFrog ได้เคยบอกในสังคมเกมไว้ก่อนหน้านี้เป็นปีแล้วว่ากำลังพัฒนาเกมร่วมกับ Valve รวมถึงการประกาศจดเครื่องหมายการค้า DOTA เอาไว้หมายความว่าIceFrog กำลังทำเกมที่มีแนวคิดของ DOTA อยู่อย่างแน่นอน

Dota 2 จาก Valve

      หลังจากที่ Valve จดเครื่องหมายการค้าไปแล้ว IceFrog โดนโจมตีอย่างหนักจากสมาชิกในสังคม DOTA เพราะพวกเขารู้สึกว่าการนำชื่อ DOTA ที่ไม่ได้หวังในผลกำไรใดๆ ไปจดนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หนึ่งในผู้ที่ออกมาติเตียนก็ทีมงาน Blizzard (เพิ่งจะออกมาทำไมป่านนี้) ด้วยสถานการณ์แบบนี้ทำให้เหล่าสมาชิกต้องไปจดเครื่องหมายการค้าคำว่า “Defense of the Ancients” ไว้เช่นกัน

      ถึงแม้ว่า IceFrog จะกำลังทำเกมให้กับ Valve อยู่แต่ตัวเขาเองก็ยังปรับแต่งตัวม็อด DOTA เวอร์ชั่นดั้งเดิมอยู่เหมือนเดิม แต่เวลาส่วนใหญ่ของเขาก็แน่นอนว่าต้องไปเน้นให้กับการพัฒนาเกม Dota 2 (สังเกตได้ว่าเขียนไม่เหมือนกันเพราะ Valve โต้แย้งว่าคำนี้ไม่ถือว่าเป็นตัวย่ออีกต่อไปแล้ว) โดยใน Dota 2 บอกฟีเจอร์ไว้สั้นๆ ว่าจะ”มีบอท ระบบติวเตอร์และระบบการจับคู่ผู้เล่นที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน”
      Blizzard ที่ทำตัวนิ่งเดียวดายอยู่นานปล่อยให้โอกาสเสียไปเปล่าๆ สุดท้ายก็ประกาศเหมือนกันว่ากำลังทำ Blizzard DOTA อยู่เช่นกันโดยใช้เล่นคู่กับ StarCraft 2 เรียกว่างานนี้ตีกันสนุกสนานซึ่ง Blizzard บอกว่าจะมีตัวละครมาจากเกมต่างๆ ของทางค่ายเอง รวมถึงมีการบริหารทรัพยากรอีกต่างหาก

      จากการประกาศเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ของ Dota 2 + การจัดแข่งขันโดยทีมชั้นนำตั้งแต่เกมยังไม่ออกและมีเงินรางวัลรวมสูงถึง 1.6 ล้านเหรียญ รวมถึงตัวเกมที่มีแนวโน้มสูงมากว่าจะเปิดให้เล่นฟรีเช่นกัน งานนี้ทำให้คู่แข่งที่โดนผลกระทบโดยตรงอย่าง LOL ต้องหวั่นใจกันบ้างไม่มากก็น้อย แต่อย่างไรก็ตามหัวเรือใหญ่ของ Riot Games ยังใจดีสู้เสืออยู่และบอกว่าจะมีการพัฒนาตัวเกมไปในแนวทางใหม่ๆ มากขึ้น รวมถึงยังเอาประโยคเด็ดของ Charles Darwin มาใช้อีกต่างหาก “เผ่าพันธุ์ที่อยู่รอดได้ไม่ใช่ผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดหรือฉลาดที่สุด แต่เป็นผู้ที่ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด”

      การเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ Dota 2 ในงาน Gamescom ที่กำลังจัดอยู่ในตอนนี้ถือว่าเป็นการแสดงให้เห็นว่าเกมแนวนี้มีอนาคตที่กำลังสดใสอย่างมาก การมีตัวเลือกเยอะหลายตัวหมายความว่าผู้เล่นอย่างเราๆ ก็มีตัวเลือกมากขึ้น ส่วนใครจะอยู่หรือจะไปอย่างไรก็ต้องรอดูกันยาวๆ ครับ



++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 ขอบคุณแหล่งที่มา 

The Story of DOTA How a bastard mod became its own genre. (ออนไลน์)
แหล่งที่มา: http://www.eurogamer.net/articles/2011-08-16-the-story-of-dota-article . 10 กรกฎาคม 2558

กำเนิด DotA ตอนที่ 1 : DotA Allstars v5.84c (ออนไลน์)

แหล่งที่มา : http://lenlenlen.com/article/dota-history-part1-584c/. 10 กรกฎาคม 2558

ย้อนวันวาน : กำเนิด DOTA (ออนไลน์)
แหล่งที่มา :http://www.soccersuck.in.th/boards/topicstore/1147459 . 10 กรกฎาคม 2558

แบบฝึกหัด

บทที่ 8 (กิจกรรมที่ 8)
กลุ่มเรียนที่ 4

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน
รหัสวิชา 0026008

นางสาวกิตติ์ธัญญา   ศรีสว่างวงศ์  รหัสนิสิต 57011211006

******************************************************************


คำชี้แจง จงพิจารณากรณีศึกษานี้ 

      1) “นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่ เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง” การกระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมาย ใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย 

      ตอบ - นาย A ไม่ถือว่ามีความผิด เพราะนาย A ได้สร้างโปรแกรมขึ้นมาเพื่อการทดลองและอาจใช้แก้ไขปัญหาของคอมพิวเตอร์ได้ในอนาคต
             - นาย B มีความผิดเพราะทำด้วยความคึกคะนอง เป็นเจตนาโดยประมาท และนำโปรแกรมไปทดลองโดยที่ไม่ได้ขออนุญาตจากผู้เป็นเจ้าของ
             - นางสาว C มีความผิดเพราะได้นำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆที่รู้จักได้ทดลองส่งผลให้ผู้อื่นเกิดความเสียหายได้ในอนาคต

      2) “นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐาน อ้างอิงจากตำราต่างๆ อีกทั้ง รูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียน ในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J” การ กระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย 
      ตอบ  กากระทำของนาย J ไม่ผิดจริยธรรมและไม่ผิดกฎหมาย เพราะการที่นาย J ได้สร้างโฮมเพจเพื่อบอกว่าโลกแบน นั้น นาย J มิได้มีการกระทำที่บงบอกว่าว่า J โกหกหลอกลวงผู้อื่น เพราะนายเจนั้นมีหลักฐานอ้างอิงจากตำราที่ตนเองศึกษา เพียงแต่นาย J มิได้อ้างอิงทางวิชาการใดๆเท่านั้นเอง 




+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++





แบบฝึกหัด

บทที่ 7 (กิจกรรมที่ 7)
กลุ่มเรียนที่ 4

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน
รหัสวิชา 0026008

นางสาวกิตติ์ธัญญา   ศรีสว่างวงศ์  รหัสนิสิต 57011211006

******************************************************************



คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้ 


1. หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Firewall) คือ

    ตอบ  หน้าที่หลัก ๆ ของ Firewall นั้น จะทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานระหว่าง Network ต่าง ๆ (Access Control) โดย Firewall จะเป็นคนที่กำหนด ว่า ใคร (Source) , ไปที่ไหน (Destination) , ด้วยบริการอะไร (Service/Port) ถ้าเปรียบให้ง่ายกว่านั้น นึกถึง พนักงานรักษาความปลอดภัย หรือ ที่เราเรียกกันติดปากว่า "ยาม"  Firewall ก็มีหน้าที่เหมือนกัน "ยาม" เหมือนกัน  ซึ่ง "ยาม" จะคอยตรวจบัตร เมื่อมีคนเข้ามา ซึ่งคนที่มีบัตร "ยาม" ก็คือว่ามี "สิทธิ์" (Authorized) ก็สามารถเข้ามาได้ ซึ่งอาจจะมีการกำหนดว่า คน ๆ นั้น สามารถไปที่ชั้นไหนบ้าง (Desitnation)  ถ้าคนที่ไม่มีบัตร ก็ถือว่า เป็นคนที่ไม่มีสิทธิ์ (Unauthorized) ก็ไม่สามารถเข้าตึกได้ หรือว่ามีบัตร แต่ไม่มีสิทธิ์ไปชั้นนั้น ก็ไม่สามารถผ่านไปได้  หน้าที่ของ Firewall ก็เช่นกัน

2. จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm , virus computer, spy ware, adware มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม

    ตอบ   
Worm  อ่านว่า "วอร์ม" มีการเรียกเป็นภาษาไทยว่า "หนอนอินเตอร์เน็ต" เป็นไวรัสประเภทหนึ่งที่ก่อกวน สามารถทำสำเนาตัวเอง (copy) และแพร่กระจายไปยังเครื่องคอมฯ เครื่องอื่นๆ ได้ ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนตัว และในระบบเครือข่ายเสียหายมานักต่อนักแล้ว ไวรัส วอร์ม นี้ปัจจุบันมีหลากหลายมาก มีการแพร่กระจายของไวรัสได้รวดเร็วมาก ทั้งนี้เนื่องจากไวรัส วอร์ม จะสามารถแพร่กระจายผ่านทางอีเมล์ได้ ไม่ว่าจะเป็น Outlook Express หรือ Microsoft Outlook


           virus computer  
ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้มีคุณสมบัตินําตัวเองไปติดปะปนกับโปรแกรมอื่น ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เพื่อก่อกวนทำลายระบบคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลชุดคำสั่ง หรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น แผ่นดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ และเป็นโปรแกรมที่สามารถกระจายจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่ง ไปยังคอมพิวเตอร์อีกตัวหนึ่งได้โดยผ่านระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์ เช่น โดยผ่านทาง แผ่นบันทึกข้อมูล (Diskette ) แฟรชไดรฟ์ หรือระบบเครือข่ายข้อมูล ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่โดนไวรัสเล่นงานจะเกิดความเสียหาย ต่อข้อมูลที่อยู่บนดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ หรือเกิดการทํางานที่ไม่พึงประสงค์เช่น การลบไฟล์ที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์หรือฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์เป็นต้น   
           spy ware  
สปายแวร์ (Spyware) คือโปรแกรมขนาดเล็ก ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อคอยแอบเก็บข้อมูลของเหยื่อ เช่น ที่อยู่ , username , password , email , เลขบัญชีธนาคาร , เลขบัตรเครดิต แล้วส่งข้อมูลกลับไปหาผู้เขียนสปายแวร์ตัวนั้นๆ หรือบางตัวจะคอยสร้างป๊อปอัพขึ้นมารบกวน ขณะเราทำการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเพื่อนๆอาจจะเคยเห็นผ่านตามาบ้าง เช่น เมื่อเล่นคอมอยู่ดีๆ ก็มีหน้าต่างป๊อบอัพเด้งขึ้นมาว่า คุณคือผู้โชคดีได้รับรางวัล และให้กรอกข้อมูลส่วนตัวต่างๆเพื่อรับรางวัล หรืออยู่ดีๆก็มีหน้าต่างโฆษณาเด้งขึ้นมารบกวนโดยที่เราไม่ได้เปิดเว็บไซต์


3. ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง 
     ตอบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่  Application viruses และ System viruses 


4. ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ 
     ตอบ 1)  อย่าเปิดอ่านอีเมลแปลก ๆ  เวลาที่คุณเช็กอีเมลถ้าเผอิญเจออีเมล์ชื่อแปลกที่ไม่รู้จักให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าต้องมีไวรัสแน่นอน แม้ว่าชื่อหัวข้ออีเมลจะดูเป็นมิตรแค่ไหนก็อย่าเผลอกดเข้าไปเด็ดขาดล่ะ
             2)  ใช้โปรแกรมตรวจจับและกำจัดไวรัส  (Anti-virus) ต้องยอมรับว่าไม่มีโปรแกรมตรวจจับและกำจัดไวรัสโปรแกรมใดสมบูรณ์แบบจะต้องอัพเดตโปรแกรมที่ใช้ตรวจจับและกำจัดไวรัสอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ครอบคลุมถึงไวรัสชนิดใหม่ 
             3)  อย่าโหลดเกมส์มากเกินไป  เกมคอมพิวเตอร์จากเว็บไซต์ต่าง ๆ อาจมีไวรัสซ่อนอยู่ไม่ควรโหลดมาเล่นมากเกินไปและควรโหลดจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้เท่านั้นบางทีเว็บไซต์จะมีเครื่องหมายบอกว่า "No virus หรือAnti virus" อยู่แบบนี้ถึงจะไว้ใจได้
             4)  สแกนไฟล์ต่าง ๆ ทุกครั้งก่อนดาวน์โหลดไฟล์ทุกประเภท  ควรทำการสแกนไฟล์ รวมทั้งข้อมูลจากภายนอกก่อนเข้ามาใช้ในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น CD, Diskette หรือ Handydrive ต้องใช้โปรแกรมค้นหาไวรัสเสียก่อน
             5)  หมั่นตรวจสอบระบบต่าง ๆ  ควรตรวจสอบระบบต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ เช่น หน่วยความจำการติดตั้งโปรแกรมใหม่ ๆ ลงไปอาการแฮงค์ (Hang) ของเครื่องเกิดจากสาเหตุใด บ่อยครั้งหรือไม่ ซึ่งคุณอาจจะต้องติดตั้งโปรแกรมพวกบริการ (Utilities) ต่าง ๆ เพิ่มเติมในเครื่องด้วย




5. มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่ 

    ตอบ 1. มาตรการทางการบริหาร  หน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง รวมทั้งต้องมีบุคลากรที่เหมาะสม และเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และในขณะนี้ทางภาครัฐได้มีการดำเนินนโยบายขยายการใช้อินเทอร์เน็ตไปสู่ สังคมระดับรากหญ้า หากไม่มีการระมัดระวังและเตรียมการที่ดีก็อาจเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมและ กิจกรรมที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ตไปสู่รากหญ้าและเยาวชนในชนบท แต่หากมีการเตรียมการที่ดี ตำบลอาจใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการกระจายความเจริญทางเทคโนโลยีและกระจาย องค์ความรู้ใหม่ ๆไปสู่สังคมได้ ดังนั้นหน่วยงานดังกล่าวจะต้องมีการวางมาตรการที่เด็ดขาดในการควบคุมดูแล พื้นที่ไซเบอร์ มีนโยบายที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ

            2. มาตรการทางกฎหมายหน่วยงานที่ทำหน้าที่ใน  การบังคับใช้กฎหมายต้องมีบุคลากรอย่างเพียงพอ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นอกจากกำหนดให้การกระทำอันมิชอบทั้งหลายบนอินเทอร์เน็ต เป็นความผิดที่ไม่ต่างจากการกระทำในโลกจริงแล้วยังพยายามแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมาย เพิ่มอำนาจการสืบสวนสอบสวน เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานให้กับเจ้าพนักงานของรัฐรวมทั้งกำหนดให้ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวพันกับข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหลายมีหน้าที่ตาม กฎหมายต้องจัดเก็บส่งมอบหรือให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานเพื่อช่วยกันนำตัว ผู้กระทำความผิดมาลงโทษ

           3. มาตรการทางการ ควบคุมจรรยาบรรณ  จะต้องมีเครือข่าย ที่มีการดูแล ผู้ประกอบอาชีพและทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร์ ที่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ควรมีการป้องกันการชี้นำความคิดที่ผิดให้แก่คนในสังคม การที่ต้องมีการกระตุ้นให้เกิดสมาคมและเครือข่ายเพื่อดูแลกันเอง เพราะการเก็บข้อมูล หรือแสดงข้อมูล เพื่อแสดงตัวตน และความน่าเชื่อถือในขอบเขตเรื่องธุรกิจ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ก็เพื่อให้สามารถยืนยันตัวตนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น และองค์กร เครือ ข่าย สมาคม ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยังสามารถช่วยเหลือคนในวงการอินเตอร์เน็ต ช่วยคนทำเว็บไซต์ ใช้สายสัมพันธ์ในการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

           4. มาตรการทางสังคม  ต้องยกระดับและพัฒนาสถาบันพื้นฐาน เช่น สถาบันครอบครัวสถาบันศาสนา สถาบันทางสังคม และสถาบันทางธุรกิจให้มีความรู้ ความสามารถด้านไอทีเพียงพอที่จะดูแลบุคคลในสถาบันของตน โดยที่ผู้นำองค์กรทางธุรกิจและสังคมต้องมีความรู้ทาง ไอทีเป็นอย่างดี

           5. มาตรการทางการศึกษา  ควรพัฒนาการศึกษาระบบสารสนเทศและความรู้ไอทีให้กว้างขวาง รวมทั้งจัดทำหลักสูตรออนไลน์ ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งในและนอกระบบการศึกษา

           6. มาตรการทาง คุณธรรมและจริยธรรม  ได้แก่ การจัดระบบการให้การศึกษาแก่ผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ทางด้านคุณธรรมและ จริยธรรม เพื่อให้เขาเหล่านั้นเข้าไปชักนำโลกเสมือนจริงและการทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซ เบอร์ไปในทางที่ถูกที่ควร
           ดังนั้นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี ประกาศใช้พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ดำเนินการเอาผิดกับผู้ที่กระทำผิดอย่างจริงจัง มีผู้ควบคุมดูและระบบใหญ่และระบบย่อยทั้งหมด เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำผิดขึ้น นอกจากนี้ต้องมีการส่งเสริมให้คนมีคุณภาพเข้ามาใช้อินเทอร์เน็ต และต้องสร้างเว็บไซต์ที่มีคุณภาพให้เกิดขึ้นมากๆ รณรงค์ให้ผู้บริหารฯ อาจารย์ นักวิชาการ หรือแม้กะทั่งนักเรียน นิสิต นักศึกษา ทำการเขียนบทความลง website  webblog เหล่านี้จะเป็นการส่งเสริมผลักดันให้มีเว็บไซต์คุณภาพ ที่สำคัญคือสถานศึกษาต้องปลูกฝังจิตสำนึกของนักเรียนในสถาบันของตนเองให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้Internet อย่างถูกต้อง

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++




แบบฝึกหัด

บทที่ 6 (กิจกรรมที่ 6)
กลุ่มเรียนที่ 4

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน
รหัสวิชา 0026008

นางสาวกิตติ์ธัญญา   ศรีสว่างวงศ์  รหัสนิสิต 57011211006

******************************************************************

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด?

    1. เทคโนโลยีสารสนเทศ
    2. เทศโนโลยี
    3. สารสนเทศ
    4. พัฒนาการ

2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?

   1. ควบคุมเครื่องปรับอากาศ
   2. ระบบการเรียนการสอนทางไกล
   3. การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
   4. การพยากรณ์อากาศ

3. การฝากถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม (ATM) เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด?

   1. ระบบอัตโนมัติ
   2. เปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
   3. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ
   4. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

4. ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?

   1. ระบบการโอนถ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
   2. บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต
   3. การติดต่อข้อมูลทางเครือข่าย
   4. ถูกทุกข้อ

5. เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด?

   1. การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
   2. ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
   3. การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ
   4. การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล

6. เครื่องมือที่สำคัญในการในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?

   1. เทคโนโลยีการสื่อสาร
   2. สารสนเทศ
   3. คอมพิวเตอร์
   4. ถูกทุกข้อ

7. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?

   1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
   2. เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน หรือสอบถามผลสอบได้
   3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้บุคคลทุกระดับติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
   4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ

8. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?

   1. เครื่องถ่ายเอกสาร
   2. เครื่องโทรสาร
   3. เครื่องมินิคอมพิวเตอร์
   4. โทรทัศน์ วิทยุ

9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ?

   1. เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานธุรกิจ
   2. พัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และการสื่อสาร
   3. ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
   4. จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น

10. ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน?

        1. ตรวจสอบผลการลงทะเบียน ผลการสอบได้
   2. สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ทั่วโลกได้
   3. ติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ครู อาจารย์ หรือส่งงานได้ทุกที่
   4. ถูกทุกข้อ